80/364 หมู่ 3 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
02-516 3821 – 4
สารหล่อลื่น : สารที่สามารถลดแรงเสียดทาน ความร้อน และการสึกหรอ เมื่อนำไปใช้เป็นฟิล์มระหว่างผิวหน้าทั้งสองที่สัมผัสกัน
สารหล่อลื่นที่วางตัวเป็นแผ่นฟิล์มระหว่างผิวสัมผัส จะทำให้เราสามารถเลื่อนผิวทั้ง 2 ไปมาได้โดยไม่แตะกัน ซึ่งเป็นจุดประสงค์สำคัญของการหล่อลื่น คือการแยกผิวหน้าที่สัมผัสกันทั้งสอง ให้เคลื่อนตัวไปมาได้ภายใต้แรงกดที่มีมากระทำ สารหล่อลื่น (น้ำมันหรือจาระบี) ที่จะนำไปใช้ระหว่างผิวสัมผัสทั้ง 2 ต้องกระจายแยกออก ตลอดพื้นผิวหน้าสัมผัส ผิวหน้าที่เคลื่อนที่จะแยกออก และวิ่งอยู่บนสารหล่อลื่นได้ ซึ่งจะไม่มีทางที่ผิวทั้งสอง จะสัมผัสกัน แต่ในความเป็นจริงสภาพดังกล่าวไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะขจัดแรงเสียดทาน และการสึกหรอ แต่เราพยายามลดลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
หน้าที่ของสารหล่อลื่น
1. ลดแรงเสียดทาน
2. ลดการสึกหรอ
3. ลดแรงกระแทก
4. ลดอุณหภูมิที่เกิดจากการทำงาน
5. ลดการกัดกร่อนของผิว
6. ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าสู่ระบบ
1. ลดแรงเสียดทาน
สารหล่อลื่นจะลดแรงเสียดทาน โดยการแยกผิวที่เคลื่อนตัวออกจากกันภายใต้แรงกด ซึ่งมี 2 อย่างคือ
1.1. แรงเสียดทานจากการสไลด์
1.2. แรงเสียดทานจากการหมุน
รูปแรงเสียดทานจากการสไลด์
แรงเสียดทานจากการหมุน เป็นผลจากผิวสัมผัสที่เคลื่อนตัวผ่านกันในทิศทางตรงกันข้าม จากรูป คือผลจากการที่เพลาพยายามหมุนตัวให้เคลื่อนที่บนผิวที่อยู่กับที่ ตัวอย่างที่เห็นได้ของแรงเสียดทานต่อการหมุนคือ ลูกปืนล้อต่าง ๆ
รูปแรงเสียดทานจากการหมุน
2. ลดการสึกหรอ
สารหล่อลื่นจะช่วยลดการสึกหรอ โดยการแยกผิวสัมผัสที่เคลื่อนที่ และอยู่นิ่ง ให้แยกจากกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
รูปลดการสึกหรอโดยแยกบริเวณผิวสัมผัส
3. ลดหรือซึมซับแรงกระแทก
สารหล่อลื่นที่ติดค้างระหว่างจุดสัมผัสของฟันเฟืองทั้งสองที่ขับกัน จะมีแรงดันต้านการเคลื่อนตัวเข้าหากันของฟันเฟือง การหล่อลื่นที่เหมาะสม จะป้องกันฟันเฟืองไม่ให้เกิดการกระแทกขณะเคลื่อนที่เข้าหากัน.
รูปแสดงถึงการลด หรือซึมซับแรงกระแทกระหว่างฟันเฟืองที่ขบกัน
4. ลดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นขณะทำงาน
สารหล่อลื่นจะช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้น โดยลดแรงเสียดทาน และเก็บความร้อนถ่ายทอดไปยังส่วนที่เย็นกว่าของเครื่องจักร ข้อสังเกตุ หากควบคุมความร้อนที่เกิดขั้นไม่ได้ จะทำให้ผิวสัมผัสของโลหะเกิดการขยายตัว และติดกันจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือทำให้จุดดังกล่าวร้อนขึ้น เกิดการผุกร่อน และอ่อนตัวลงจะทำให้ชิ้นส่วนอื่น ๆ สึกหรอเร็วจนต้องเปลี่ยนใหม่.
5. ลดการกัดกร่อน
สารหล่อลื่นจะลดการกัดกร่อนของผิวสัมผัสทั้งสอง โดยทำหน้าที่เคลือบผิวทั้งสองไว้เป็นแผ่นบาง ๆ
6. ป้องกันสิ่งสกปรกเข้าระบบ
สารหล่อลื่นจะป้องกันสิ่งสกปรกเข้า โดยจะแทรกตัวระหว่างผิวสัมผัส และรักษาความดันใช้งานของสารหล่อลื่น ให้คงสภาพไว้ตลอดเวลา
รูปป้องกันสิ่งสกปรก